วันอาทิตย์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2553

SWOT BETTER BEER


SWOT  BETTER BEER
S = Strengths
1.       Better  Beer  มีรูปแบบของผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย ทั้งในแบบขวด กระป๋อง และทาวเวอร์ ซึ่งจะเหมาะกับผู้ดื่มหลายๆแบบ ถ้าชอบดื่มแบบง่ายๆหรือดื่มจำนวนน้อย ก็สามารถเลือกเป็นแบบขวดหรือแบบกระป๋อง แต่ถ้าอยากนั่งดื่มแบบเฮฮากับเพื่อนหลายๆคน หรือดื่มแบบจำนวนมาก ก็สามรถดื่มแบบเป็นทาวเวอร์ได้
2.       ผลิตภัณฑ์ Better Beer มีให้เลือกหลากหลายกลิ่น หลายรสชาติซึ่งจะแยกตามสีต่างๆ
3.       เป็นผลิตภัณฑ์ในระดับพรีเมี่ยม
4.       Better beer มีนวัตกรรมในการผลิตที่ทันสมัย โดยการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีนำเข้าจากประเทศเยอรมันโดยตรง
5.       Better Beer มีวางจำหน่ายอย่างทั่วถึง ที่สถานบันเทิงทุกประเภท ซูปเปอร์มาเก็ต ไฮเปอร์มาเก็ต ร้านสะดวกซื้อ ร้านในสถานีบริการน้ำมัน
6.       Better Beer มีการส่งเสริมการขายที่หลากหลาย
           

W = Weakness
Better beer จัดอยู่ในช่วงของ Introduction หรือขั้นแนะนำเนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ที่เพิ่งเข้าสู่ตลาดและยังไม่เป็นที่รู้จัก ผลิตภัณฑ์ Better beer จึงจำเป็นที่จะต้องใช้การสื่อสารทุกรูปแบบเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายนั้นรู้จักกับผลิตภัณฑ์ Better beer ของเรา
O = Opportunity
                1. Better Beer อยู่ในขั้นแนะนำและเป็นสินค้าใหม่ในตลาดเครื่องดื่มเอลกอฮอล์แบบพร้อมดื่ม (RTD) ซึ่งสามารถแย่งชิงส่วนแบ่งทางการตลาดจากคู่แข่งได้
            2. เครื่องดื่มอาร์ทีดี มีมูลค่าตลาดรวมในปี 2551 อยู่ที่ 600 ล้านบาท  ซึ่งเติบโตขึ้นเรื่อยๆจากปี 2549 อยู่ที่ 500 ล้านบาท  ทำให้โอกาสในการบริโภคของผู้บริโภคจะเพิ่มสูงขึ้นในปีนี้ Better Beer จึงสามารถเป็นสินค้าที่ผู้บริโภคเลือกดื่มได้
T=Threat
1.       อุปสรรคทางด้านกฎหมายข้อควบคุมในการทำการโฆษณาทางสื่อวิทยุโทรทัศน์
2.       การสร้าง Brand image ใหม่ให้กับตลาด เพราะต้องแข่งกับคู่แข่งเดิมที่มีอยู่แล้ว
3.       พฤติกรรมการดื่มของคนเกาหลี ส่วนมากชอบดื่มสินค้าแบรนด์ของประเทศตน ทำให้เป็นการยากที่จะเข้าไปตีตลาด
4.       ผู้บริโภคที่ชอบดื่มเบียร์อยู่แล้ว อาจมีทัศนคติที่ดีต่อรสชาติและกลิ่นเดิมของเบียร์มากกว่า
ข้อมูลประเทศเกาหลีใต้
 ประเทศ : สาธารณรัฐเกาหลีใต้ (The Republic of Korea)
 พื้นที่ :  ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของคาบสมุทรเกาหลี มีเนื้อที่ 99,392 ตารางกิโลเมตร
 ภูมิอากาศ :  มี 4 ฤดูกาล ได้แก่ ฤดูใบไม้ผลิ ตั้งแต่มีนาคมถึงพฤษภาคม ฤดูร้อน  ตั้งแต่มิถุนายนถึงสิงหาคม ในระหว่างฤดูอาจมีฝนตกหนัก   ฤดู ใบไม้ร่วง ตั้งแต่กันยายนถึงพฤศจิกายน และฤดูหนาว ตั้งแต่ธันวาคมถึงมีนาคม (ฤดูหนาวอากาศหนาวจัด อาจถึงจุดเยือกแข็ง) 

ประชากร  : 48.4 ล้านคน  (%ประชากรเทียบกับประชากรโลกเท่ากับ 0.7%)
รายได้ประชาชาติ(GNP PER CAPITA) : ประชากรมีรายได้ต่อหัว 16,291 ดอลล่าร์สหรัฐ และมีรายได้ประชาชาติรวม 786.8 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ มีการค้าเกินดุลโดยมีมูลค่าการส่งออก 2847.1 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ มูลค่าการนำเข้า 261.23 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ ดังนั้นจึงทำให้เรามองเห็นตัวเลขแล้วว่าอัตราการนำเข้าก็มีตัวเลขที่สูงพอสมควรดังนั้นจึงเป็นการดีที่เราจะไปทำตลาดเบียที่นี่
ระบบการเมือง : เกาหลีใต้มีการปกครองแบบประชาธิปไตยโดยให้รัฐสภามีอำนาจหน้าที่ดูแลและตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล รวมทั้งระบุว่ากองทัพต้องวางตัวเป็นกลางทางการเมือง
เศรษฐกิจ : เกาหลีใต้เป็นประเทศอุตสาหกรรมเต็มตัว มีรายได้เข้าประเทศจากอุตสาหกรรมเป็นหลัก  การเกษตรเป็นรอง และทำการเกษตรจะพอกินภายในประเทศเป็นส่วนใหญ่ไม่มีการส่งออกมากนัก
กฎหมาย อัตราภาษี  : ศุลกากรของประเทศเกาหลีได้อนุญาตให้ผู้เสียภาษีสามารถร้องขอให้ศุลกากรตรวจสอบวิธีการประเมินราคาศุลกากรสำหรับสินค้านำเข้าของบริษัท โดยเฉพาะกรณีที่มีการซื้อขายระหว่างคู่สัญญา ที่มีความสัมพันธ์กัน ซึ่งการตรวจสอบนี้จะมีขึ้นก่อนที่จะมีการยื่นแบบฯเพื่อเสียอากรขาเข้า โดยการตกลงกันล่วงหน้านี้จะช่วยให้บริษัทลงทุนระหว่างประเทศสามารถลดความเสี่ยงและความไม่แน่นอนในส่วนของอากรที่จะต้องเสีย และลดปัญหาถกเถียงที่จะเกิดขึ้นระหว่างบริษัทกับศุลกากร อีกทั้งยังช่วยหลีกเลี่ยงการตรวจสอบย้อนหลังที่เกิดจากการประเมินอากรของสินค้านำเข้าของคู่สัญญาที่มีความสัมพันธ์กันอีกด้วย  ดังนั้นจึงเป็นการดีที่เราจะไปลงทุนเพราะกฎหมายและภาษีได้เอื้อให้แก่นักลงทุนระหว่างประเทศอย่าเราอีกด้วย
ความคล้ายคลึงทางวัฒนธรรม : เกาหลีและไทยมีความคล้ายคลึงกันในวัฒนธรรมในรูปแบบต่างๆดังนั้นจึงทำให้เราทำตลาดในเกาหลีใต้ได้ค่อนข้างง่ายและด้วยความที่เป็นเอเชียเช่นเดี๋ยวกันจึงทำให้มีความคล้ายคลึงในวัฒนธรรมเป็นอย่างมาก
โอกาสทางการตลาด : เนื่องด้วยตลาดที่กำลังเติบโตอย่างมากในประเทศเกาหลีใต้และการเติบโตของเศรษฐกิจจึงทำให้ไม่ใช่เรื่องยากที่เราจะเข้าไปทำตลาดและมุ่งเน้นไปที่กลุ่มเป้าหมายและวางเป้าหมายมุ่งขยายตลาดไปยังกลุ่มเศรษฐกิจใหม่ที่มีอำนาจซื้อและด้วยรายได้ต่อครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นถึง 6 เท่าจึงทำให้โอกาสขายสินค้าจึงมหาศาล
สภาพการแข่งขัน : ทางเศรษฐกิจมีมาก ทำให้เราสามารถทำตลาดในประเทศนี้ได้ง่าย
พฤติกรรมและวัฒนธรรมการบริโภค : ชาวเกาหลีจะเอาใจใส่กับงานที่ตนเองทำหรือรับผิดชอบ จะเอาจริงเอาจังกับนั้นมากทีเดียวชาวเกาหลีมักจะคิดเร็ว ทำเร็ว จนมีคำกล่าวว่า ทุกอย่างต้องเร็วหมด เนื่องจากสภาพที่เคยตกเป็นเมืองขึ้นทำให้เขากระทำทุกอย่างด้วยความเร็ว จะสังเกตได้ง่าย เช่น การทำงาน มีความรู้สึกว่าเขาทำงานด้วยความเร็วสูง หรือการเดินในที่สาธารณะ เพราะความเร็วนี้เอง เมื่อเดินในที่สาธารณะจะปะทะกับผู้อื่นตลอดเวลา สร้างความไม่พอใจให้กับชาวต่างชาติ แต่สำหรับชาวเกาหลีแล้ว การเดินปะทะกันเช่นนั้นไม่ใช่สิ่งแปลก ปัจจุบันนี้สภาพการแข่งขันทางเศรษฐกิจมีมาก ก็ยิ่งสร้างความเร็วให้กับชาวเกาหลีมากยิ่งขึ้นเมื่อไปรับประทานอาหารร่มกันหลาย ๆ คน คนเกาหลีจะไม่แยกกันจ่ายหรือเฉลี่ยกัน โดยทั่วไปแล้ว คนที่ชวนคนอื่นจะเป็นผู้จ่าย และมักจะเลี้ยงอาหารดี ๆ เพื่อให้ประทับใจ 
ในปัจจุบันสังคมเกาหลีได้รับอิทธิพลจากตะวันตก จีน และญี่ปุ่นเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นวัฒนธรรมบางส่วนได้เปลี่ยนไปบ้าง โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่น ถือว่าเป็นรุ่นที่ยอมรับวัฒนธรรมต่างชาติเข้ามามากที่สุด เกาหลีมีวัฒนธรรมที่น่าสนใจมากมาย อาหารหลักของชาวเกาหลี คือ ข้าว เช่นเดียวกับคนไทยที่กินข้าวเป็นอาหารหลัก แต่ลักษณะของกับข้าวนั้นแตกต่างกัน โดยเฉพาะรสชาติของเกาหลีนั้น จะมีความเผ็ดน้อยกว่าของไทย ทำให้ชาวไทยคิดว่าชาวเกาหลีรับประทานอาหารรสไม่จัด อาหารเกาหลีจะมีอาหารประเภทผักมากกว่าเนื้อ ชาวเกาหลีจะปลูกฝังให้ลูกหลานรับประทานผักมากกว่าเนื้อ ชาวเกาหลีไม่นิยมนั่งรับประทานอาหารที่โต๊ะ แต่จะนั่งบนพื้นและมีโต๊ะสำหรับวางอาหาร ( พับซัง ) มีถ้วยซุปซึ่งวางทางด้านขวาของข้าวและมีช้อนกับตะเกียบวางอยู่ ชาวเกาหลีใช้ตะเกียบในการรับประทานอาหารซึ่งเป็นตะเกียบเหล็ก บนโต๊ะกับข้าว อาจมีหม้อแกงใหญ่วางอยู่ ซึ่งทุกคนใช้ตะเกียบหรือช้อนของตนเองตักอาหาร ไม่ใช้ช้อนกลาง แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์และปรองดองกันได้เป็นอย่างดี
มารยาทอย่างหนึ่งของการรับประทานอาหารคือ คนที่อาวุโสที่สุด ณ ที่นั้น จะเป็นผู้ที่จับช้อน ตะเกียบตักอาหารก่อน หลังจากนั้น ผู้น้อยจึงจะสามารถรับประทานอาหารได้ และเราจะต้องรับประทานอาหารที่ตักมาให้หมด หากรับประทานไม่หมดถือว่าอาหารนั้นไม่อร่อย   ดังนั้นจากที่เรารู้ถึงพฤติกรรมของคนเกาหลีจึงทำให้เรารู้ว่าเขามักจะชอบสังคมและสังสรรค์ทำให้เราสามารถทำตลาดกับคนกลุ่มเหล่านี้ได้ง่ายและด้วยการรับวัฒนธรรมของต่างชาติของประเทศเกาหลีทำให้เราสามารถนำสินค้าเราไปทำตลาดได้ง่ายขึ้น
สินค้าประเภทแอลกอฮอล์พร้อมดื่ม หรือ Ready to drink (RTD) ที่มีขายในประเทศเกาหลีใต้




 

วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย
พฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มประเภท Ready to drink ของคนเกาหลี
คนส่วนใหญ่มักใช้เวลาหลังเลิกงานไปนั่งรับประทานอาหารที่ร้านไม่ว่าจะเป็นร้านอาหารริมทาง หรือร้านอาหารต่างๆ โดยการรับประทานอาหารของคนเกาหลีมักนิยมที่จะสั่งโซจูหรือเครื่องดื่มประเภท Ready to drink มารับประทานพร้อมกับการทานอาหาร และการดื่มเครื่องดื่มประเภทนี้ก็ยังเป็นการดื่มเพื่อเข้าสังคมอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นการเข้าสังคมของกลุ่มผู้ร่วมงาน หรือเป็นการสังสรรค์ระหว่างเพื่อนฝูง โดยกลุ่มคนที่ดื่มเครื่องดื่มประเภท Ready to drink เป็นกลุ่มคนตั้งแต่ วัยรุ่นจนถึงวัยทำงานหรือวัยมีครอบครัว โดยส่วนมากคนเกาหลีนิยมดื่มกันที่ร้านอาหารเป็นส่วนมาก และก็ตามสถานบันเทิงทั่วไป
ลักษณะทางประชากรศาตร์ (Demographics)
 -  เพศ ชายและหญิง
 -  อายุ 18-45 ปี
 -  อาชีพ นักศึกษา พนักงานบริษัท
 -  รายได้ 10,000 - 30,000 บาท/เดือน
 -  ฐานะปานกลาง ถึง สูง
 -  มีที่อยู่อาศัยอยู่ใจกลางเมือง
ลักษณะทางจิตวิทยา (Psychographics)
-  เป็นคนชอบเข้าสังคม ชอบการสังสรรค์
-  และเป็นบุคคลที่ชอบเที่ยวกลางคืนในส่วนของกลุ่มที่ชอบดื่มในสถานบันเทิง
-  พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคกลุ่มนี้คือ ต้องการสร้างภาพลักษณ์ เพื่อที่จะเข้าสังคมกับผู้อื่นได้ เช่น กับเพื่อนร่วมงาน เป็นต้น

กลยุทธ์การตลาด
Better Beer ใช้กลยุทธ์มาตรฐานเดียวกัน/กลยุทธ์ทั่วโลก (Global Strategy) คือ การนำเสนอตราสินค้า/ผลิตภัณฑ์/และส่วนประสมการตลาดที่มีมาตรฐานเดียวกัน (หรือมีการปรับปรุงน้อยมาก) เพื่อใช้ในทุกส่วนตลาดต่างประเทศ
ทฤษฎีการตลาดระหว่างประเทศ
Better Beer ใช้สองทฤษฎีในการทำการตลาดในประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งเป็นหนึ่งประเทศในกลุ่ม ASEAN+6 ดังนี้
v    ทฤษฎีวงจรทางการค้า (The product Trade Cycle Model)
v    ทฤษฎีความได้เปรียบเชิงการแข่งขัน (Competitive Advantage)
ทฤษฎีวงจรการค้า (The Product Trade Cycle Model)
v    Introductionà growthà maturityà decline
v    ประเทศพัฒนาแล้วผลิตสินค้าขึ้นขายภายในประเทศ แล้วทำการค้าระหว่างประเทศ
v    ต่อมาผู้นำเข้าได้เลียนแบบหรือผู้ส่งออกได้ไปตั้งโรงงานในประเทศผู้นำเข้า
v    ประเทศผู้นำเข้าก็พัฒนาตนเองจนเป็นผู้ส่งออก
v    ประเทศผู้ส่งออกเดิมก็กลายเป็นผู้นำเข้าเพราะไม่สามารถผลิตสินค้าได้ในราคาต่ำกว่าประเทศผู้นำเข้าเดิม


ทฤษฎีความได้เปรียบเชิงการแข่งขัน (Competitive Advantage)
การสร้างความได้เปรียบเชิงการแข่งขัน 2 แบบ คือ การสร้างความได้เปรียบจากต้นทุน (Cost Advantage) และ การสร้างความแตกต่าง (Differentiation) ทั้ง 2 แบบนี้นำไปสู่แกนกลยุทธ์ในการบรรลุเป้าหมายของอุตสาหกรรม คือ มีผลประกอบการที่เหนือกว่า Better Beer ได้ใช้แบบที่สอง คือ การสร้างความแตกต่าง (Differentiation) ในการสร้างความได้เปรียบในเชิงแข่งขัน ในการทำตลาดในต่างประเทศ


 







ภาพที่ 1 ลำดับขั้นของการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน (Competitive Advantage) ของBetter Beer

จากแผนภาพ ปัจจัยที่เป็นพื้นฐานที่สำคัญมากที่สุดก็คือ ความรู้ (Knowledge) ที่องค์กรของBetter Beer ต้องพยายามสร้างขึ้นมา ด้วยการเรียนรู้ (Learning) และพัฒนามาเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) ให้ได้ ซึ่งปัจจุบันเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ ระบบโทรคมนาคม หรือแม้กระทั่ง ระบบอินเตอร์เน็ต สามารถช่วยทำให้กิจการ สร้างองค์ความรู้ได้หลากหลายรูปแบบ จากนั้นผู้บริหารต้องดึงเอาความรู้ต่างๆ ที่บุคลากรมี เพื่อมาสร้างนวัตกรรม (Innovation) ให้กับองค์กรต่อไป
นวัตกรรม (Innovation) เป็นการเรียนรู้ การผลิต และการใช้ประโยชน์จากความคิดใหม่ เพื่อให้เกิดผลดีทางเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงการสร้างผลิตภัณฑ์ การบริการ กระบวนการใหม่ การปรับปรุงเทคโนโลยี การแพร่กระจายเทคโนโลยี และการใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์และเกิดผลพวงทางเศรษฐกิจและสังคม 
เมื่อองค์กรสามารถสร้างนวัตกรรม พร้อมทั้งมีการจัดการที่ดีในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการตลาด การเงิน การผลิต และด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้แล้ว ก็จะทำให้องค์สามารถที่จะสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน (Competitive Advantage) ได้
กลยุทธ์การสร้างได้เปรียบในการแข่งขันเป็นพื้นฐานที่Better Beer พยายามสร้าง และเมื่อBetter Beerเป็นสินค้าในประเทศไทยซึ่งเป็นองค์กรที่สามารถสร้างความได้เปรียบก็จะทำให้ประเทศเรา มีขีดความสามารถทางการแข่งขัน (Competitiveness) ที่เหนือกว่าอีกประเทศอื่น ๆ 



ทฤษฎีความได้เปรียบเชิงการแข่งขันโดยการสร้างการแตกต่างของ Better Beer ได้แก่
การสร้างจุดยืนของแบรนด์ (Brand Positioning) และเอกลักษณ์ของแบรนด์ (Brand Identity)
            ทางบริษัทของเราได้ตั้งชื่อแบรนด์ของเราว่า Better Beer ซึ่งหมายความว่า เบียร์ที่ดีกว่า ดังนั้น เราจึงวางตำแหน่งแบรนด์ของเรา (Brand Positioning) ว่าเป็นเบียร์ที่ดีกว่าเบียร์อื่นๆ ตรงที่เบียร์ของเราเป็นเบียร์ ที่ผสมน้ำผลไม้และมีกลิ่นผลไม้ ทำให้เบียร์ของเรามีกลิ่นหอม รสชาติหวาน และดื่มง่าย เบียร์ของเรามีหลายกลิ่นและหลายรสชาติ จึงมีความหลากหลายให้ผู้บริโภคเลือกดื่ม
เอกลักษณ์ของ Better Beer
แบรนด์ของเราจึงมีเอกลักษณ์ (Brand Identity) ที่เบียร์อื่นๆไม่มี คือเราเป็นเบียร์ที่ผสมน้ำผลไม้ มีกลิ่นผลไม้ ซึ่งเราเป็นเจ้าแรกที่ผลิตในเมืองไทยและกำลังจะไปตีตลาดที่เกาหลีใต้ เราถือว่าตรงนี้ยังเป็นจุดเด่นของเรา ถ้าตราบใดที่เราไม่มีคู่แข่งมาผลิตสินค้าเลียนแบบ และเราจะสร้างจุดเด่นให้แตกต่างโดยใช้ Sensory Branding ซึ่งการใช้ Sensory Branding เป็นเครื่องมือในการสร้างตราสินค้า ซึ่งเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูงสุด จะส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคในทางอารมณ์ คือเราจะสร้างอัตลักษณ์ให้ผู้บริโภคจดจำแบรนด์ของเราโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า ดังนี้
1.       Sight / การมองเห็น
2.       Touch / การสัมผัส
3.       Smell  / การได้กลิ่น
4.       Test  / การลิ้มรส
5.       Sound / การได้ยิน


1. Sight / การมองเห็น
ผู้บริโภคสามารถรับรู้ว่าสินค้าเป็นสินค้าของเราผ่านทางการมองเห็น โดยเห็นจากตราสินค้า และสีตามรสชาติของสินค้า ซึ่ง Better Beer ของเราจะมี 5 สี ซึ่งได้แก่ สีเหลือง สีม่วง สีชมพู สีเขียว และสีส้ม ทั้งแบบขวดและแบบกระป๋อง ทำให้ผู้บริโภคทราบทันทีว่า นี่คือสินค้าของ Better Beer
2. Smell / การได้กลิ่น
Better Beer ของเราจะมี 5 กลิ่น ซึ่งได้แก่ กลิ่นมะนาว กลิ่นบลูเบอรี่ กลิ่นสตอเบอรี่ กลิ่นแอปเปิ้ล กลิ่นสับปะรด ทั้งแบบขวดและแบบกระป๋อง ผู้บริโภคสามารถได้กลิ่นแอลกอฮอล์จากผลไม้ ไม่ฉุน ทำให้เวลาดื่มได้กลิ่นผลไม้อ่อนๆ สร้างอรรถรสในการดื่มเบียร์ได้ดี
3. Test / การลิ้มรส


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น