เหตุผลที่สร้างแบรนด์ Better Beer ขึ้นมามีเหตุผลหาลยประการดังนี้
1. กระแสที่ดื่ม RTD (Ready To Drink) มีแนวโน้มที่จะขยายตัวประมาณ 10-15% จากมูลค่าตลาดรวม มูลค่าประมาณ 600 ล้านบาท (http://www.marketeer.co.th/inside_detail.php?inside_id=4365) และภายในประเทศไทยยังไม่มีผู้ผลิตเจ้าไหนที่ผลิตเบียร์ผลไม้ขึ้นมาจำหน่าย (หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 2303 มี.ค.–12 มี.ค. 2552) บริษัทมองเห็นโอกาสทางการตลาด เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ภายใต้แบรนด์ Batter Beer
2. อยากเพิ่มทางเลือกใหม่ให้กับผู้ที่บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะเครื่องดื่มใหม่ “Batter Beer” นั้น เป็นครั้งแรกที่คนไทยคิดผสมเครื่องดื่มระหว่าง เบียร์ กับผลไม้ทำให้เครื่องดื่มมีลักษณะนุ่ม ปนด้วยรสชาติหวานจากผลไม้ ดื่มง่าย ซึ่งน่าจะเป็นทางเลือกใหม่ของนักดื่มแอลกอฮอล์ทั้งหญิงและชาย ซึ่งปัจจุบันมีสัดส่วนเพียง 20% อีก 80% เป็นฐานลูกค้ากลุ่มผู้หญิง โดยวางเป้าหมายเพิ่มสัดส่วนลูกค้ากลุ่มผู้ชายและผู้หญิงมีฐานให้อยู่ในระดับใกล้เคียงกันในอนาคต (www.brandage.com/modules/dedktopmodules/articledetail.aspx) เราต้องการให้สินค้าของเราเป็น Brand Unisex
3. พฤติกรรมของผู้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์พร้อมดื่ม (RTD) ซึ่งเป็นคนไทยมีความเหมือนกันในกลุ่มผู้ที่ให้สัมภาษณ์ทุกเพศ อายุ รายได้ และทุกพื้นที่ที่ทำการสัมภาษณ์ โอกาสที่จะดื่มแอลกอฮอล์ คือ ขณะปาร์ตี้/สังสรรค์กับเพื่อนที่ร้อยละ 90 ดื่มในเทศกาลต่างๆ ที่ร้อยละ 71 และเมื่อฉลองในโอกาสพิเศษที่ร้อยละ 56 สำหรับการดื่มในอนาคตนั้น ประเภทของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่คาดว่าจะดื่ม คือ เบียร์ร้อยละ 88 วิสกี้ร้อยละ 60 บรั่นดีร้อยละ 18 และเหล้าขาวร้อยละ 17 (http://www.ryt9.com/s/prg/48891/) ซึ่งจากปริมาณการดื่มเบียร์และวิสกี้ของคนไทย ทำให้ทางบริษัทได้เล็งเห็นโอกาสที่จะผลิต Batter Beer ขึ้นมา เพื่อเสนอขายให้กับผู้บริโภคกลุ่มนี้ และคาดว่าน่าจะขายได้ดี
4. เนื่องจากความจงรักภีกดีต่อตราสินค้าของผู้บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีปริมาณที่ต่ำ ขณะเดียวกันผู้บริโภคมีพฤติกรรมชอบลองของแปลกใหม่เมื่อมีสินค้าใหม่เข้ามาเป็นทางเลือกผู้บริโภคก็พร้อมที่จะหันมาบริโภคผลิตภัณฑ์ใหม่ในทันที ดังนั้นผู้ที่เข่ามาสู่ตลาดทีหลัง (Late Entrant) มีโอกาสก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำตลาด (Market Leader) ตลอดเวลา Batter Beer จึงสามารถเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของผู้ดื่มแอลกอฮอล์ และแย่งชิงส่วนแบ่งทางการตลาด จากสไปร์ได้ เพราะตอนนี้ในตลาด RTD สไปร์เป็นผู้นำตลาด (Market Leader) มีส่วนแบ่งทางการตลาดถึง 55% หรือมูลค่า 330 ล้านบาท (http://www.businessthai.co.th/bt/content.php?data=405644_consumer%20war)
วัตถุประสงค์ของการสร้างแบรนด์และสื่อสารแบรนด์
1. เพื่อสร้างการรับรู้ (Perception) และตระหนักรู้ (Awareness) เกี่ยวกับตรา Better Beer
2. เพื่อให้ผู้บริโภคมีความรู้ (Knowledge) เกี่ยวกับตรา Better Beer
3. เพื่อสร้างตำแหน่งในใจผู้บริโภคเป้าหมาย (Brand Positioning) ให้อยู่ในตำแหน่ง ที่ว่าเบียร์ของเราเป็นเบียร์ที่ดีกว่า และอยู่ในใจผู้บริโภคในระยะยาว
4. เพื่อสร้างภาพลักษณ์ของแบรนด์ (Brand Image) ที่ดี ทำให้ผู้บริโภคมองแบรนด์ของเราในแง่ดี
5. เพื่อสร้างจุดสัมผัสของแบรนด์กับผู้บริโภค (Brand Connect)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น